14 สิงหาคม 2552

นักศึกษาสรุปสิ่งที่ได้จากการเรียนครั้งที่ 1-2

สิ่งที่ได้จากการเรียนครั้งที่ 2
การบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ

เพื่อตอบสนองความต้องการภาครัฐและเอกชน

ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามามีบทบาทสำคัญอย่างมากต่อการพัฒนาองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นสร้างผลกระทบที่สำคัญต่อการดำรงอยู่และการเจริญเติบโตขององค์กร การเรียนรู้และการพัฒนาสารสนเทศจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ทุกองค์กรจะต้องให้ความสำคัญกับการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้มีดังนี้
1. ด้านการวางแผน
2. ด้านการตัดสินใจ
3. ด้านการดำเนินงาน
การบริการงานด้านสารสนเทศ ในทางปฎิบัติผู้บริหารไม่จำเป็นต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านสารสนเทศแต่ผู้บริหารต้องเข้าใจถึงความสำคัญและประโยชน์ในการนำสารสนเทศมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินงานขององค์กร
CEO (Chief Executive Officer) ผู้บริหารสูงสุดขององค์กรที่จะต้องมีภาวะผู้นำ
CIO (Chief information Officer) ผู้บริหารฝ่ายสารสนเทศซึ่งเป็นตำแหน่งสูงสุดที่รับผิดชอบด้านสารสนเทศขององค์กรโดยเฉพาะ
COO (Chief Operating Officer) ผู้บริหารด้านการปฎิบัติการมีหน้าที่ บริหารจัดการกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในแต่ละวันขององค์กร
CKO (Chief Knowledge Officer) ผู้บริหารที่รับผิดชอบด้านการบริหารและจัดการความรู้ในองค์กร
ระดับการบริหารงานในองค์กร
1. ผู้บริหารระดับสูง ได้แก่ ประธานกรรมการ ผู้จัดการ กรรมการบริหาร
2. ผู้บริหารระดับกลาง ได้แก่ ผู้จัดการฝ่ายต่างๆ ที่มีหน้าที่ รับนโยบายและแผนระยะยาว
3. ผู้บริหารระดับต้นหรือระดับปฎิบัติการ ได้แก่ หัวหน้างาน หัวหน้าฝ่าย หัวหน้าแผนก
ระดับของการตัดสินใจ
การตัดสินใจแบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ
1. การตัดสินใจระดับสูง ไม่มีการวางแผนล่วงหน้า
2. การตัดสินใจระดับกลาง เป็นการตัดสินใจของผู้บริหารระดับกลาง
3. การตัดสินใจระดับปฎิบัติการ
ระบบสารสนเทศสำหรับองค์กร
1. ระบบประมวลผลรายการ เป็นการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการประมวลผลข้อมูลรายการต่างๆ
2. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร
3.ระบบสารสนเทศสำนักงาน
4.ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
5.ระบบสนับสนุนผู้บริหารระดับสูง
การบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศเทคโนโลยีสารสนเทศ
เทคโนโลยีสารสนเทศได้กลายเป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับองค์กรทั้งภาครัฐและภาคเอกชนมีความสำคัญต่อการพัฒนาองค์กรและเป็นตัวเร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพื้นฐานทั้งในโครงสร้างการปฏิบัติงาน และการจัดการขององค์กรต่าง ๆดังนั้นผู้บริหารทั้งภาครัฐและภาคเอกชนควรให้ความสนใจ และติดตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยีาสรสนเทศเพื่อจะได้ทราบทิศทาง และประโยชน์ในการประยุกต์ใช้งานให้เหมาะสมและจะต้องมีความรู้ความเข้าใจการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด

**********
เทคโนโลยีสารสนเทศกับการเปลี่ยนแปลง
ทางด้านสังคม การเมืองและเทคโนโลยีสมัยใหม่
การเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
ผลของความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศทำให้เกิดแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงหลายด้านดังนี้
1.ทำให้สังคมเปลี่ยนจากสังคมอุตสาหกรรมมาเป็นสังคมาสารสนเทศ
2.การสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น การติดต่อสื่อสารสะดวกขึ้น
3.อุปกรณ์ต่างๆมีราคาถูกลงแต่มีความสามารถและประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น
4.เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามามีบทบาททางด้านธุรกิจ
เทคโนโลยีสารสนเทศกับการเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคม
เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงสังคมเกษตรกรรมไปสู่สังคมอุตสาหกรรมสังคมสารสนเทศและสังคมความรู้ เทคโนโลยีมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงในการดำเนินกิจกรรมของมนุษย์ในหลายๆด้านจึงมีผลกระทบต่อสังคมทั้งในแง่บวกและแง่ลบ
เทคโนโลยีสารสนเทศกับการเปลี่ยนแปลงทางด้านการเมือง
มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการพัฒนาทางด้านการเมือง แนวโน้มที่ดีขึ้นในมิติทางการเมืงอไทยในปัจจุบันก็คือการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนมีมากขึ้น เนื่องจากการเปิดรับข่าวสารสื่อต่างๆ ทั้งในและนอกประเทศ เช่น ข้อมูลข่าวสารผ่านเว็บไซต์และโทรศัพท์มือถือ
เทคโนโลยีสมัยใหม่
เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เจริญก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว มีการนำคอมพิวเตอร็มาใช้ในการสร้างสารสนเทศมากมาย สารสนเทศที่ดีได้มาจากการจัดการกับข้อมูลที่ดีทำให้ได้สารสนเทศที่ต้องการและเมื่อสะสมสารสนเทศมากขึ้นเรื่อยๆ จะได้ความรู้ใหม่ และความรู้เหล่านี้จะนำไปสู่การพัฒนาสติปัญญาของมนุษย์
การจัดการความรู้
การจัดการ หมายถึง กระบวนการทำงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ต้องการอย่างประสิทธิภาพ และประสิทธิผล
การจัดการความรู้ คือ การรวบรวมความรู้ที่มีอย่กระจัดกระจายมาพัฒนาเป็นระบให้ทุกคนสามารถเข้าถึงและพัฒนาตนเอง พัฒนางานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
กลยุทธ์ คือ การหาแนวทางให้องค์กรสามารถเอาชนะคู่แข่งขันได้อย่างมี ประสิทธิภาพภายใต้เงื่อนไขของทรัพยากรที่มีอยู่
กระบวนการจัดการเชิงกลยุทธ์
การจัดการเชิงกลยุทธ์จะต้องมีกระบวนการที่ชัดเจนซึ่งแบ่งเป็น 3 ขั้นตอน
ขั้นตอนที่ 1.การวิเคราะห์กลยุทธ์แบ่งเป็นองค์ประกอบหลัก 2 ส่วน คือ
1.1 การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน
1.2 การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก
ขั้นตอนที่ 2. การจัดทำกลยุทธ์ นำข้อมูลที่ได้จากขั้นตอนที่ 1 มาจัดทำกลยุทธ์ซึ่งต้องกำหนดวิสัยทัศน์พันธกิจและเป้าหมาย
ขั้นตอนที่ 3.การนำกลยุทธ์ไปปฎิบัติ เน้นการประเมินโดยมุ่งเน้นในสิ่งที่มีความสำคัญต่อความสำเร็จขององค์กร
เทคโนโลยีสารสนเทศสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน
1. เพิ่มปริมาณการขาย 2. การลดต้นทุนการผลิต 3.การเพิ่มผลผลิต 4.การเพิ่มคุณภาพของสินค้าและบริการ5.เพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน
ข้อโต้แย้งเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศในการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน
เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้เกิดข้อขัดแย้งในประเด็นที่เกี่ยวกับค่าใช้จ่าย การเปลี่ยนแปลงและความเสี่ยง
1.การสร้างเทคโนโลยีสารสนเทศเสียค่าใช้จ่ายสูงและต้องใช้เวลา
2.การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศจะต้องเกิดการเปลี่ยนแปลง
3.การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศมีความเสี่ยง
ผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อองค์กร
เหตุผลสำคัญที่ทำให้เกิดความล้มเหลวขององค์กร คือ ความผิดพลาดทางด้านการบริหาร ดั้นนั้นการสร้างความสำเร้จให้เกิดกับองค์กรจะต้องมีกลยุทธ์ที่ชัดเจน มุ่งเน้นการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติตลอดจนมีการดำเนินงานที่ดี ปัจจุบันเทคโนโลยีาสารสนเทศสามารถสร้างประโยชน์ได้มากในทางกลับกันก็เป็นปัญหาสังคมเร่งด่วนเนื่องจากสารสนเทศส่วนตัวบางอย่างที่ไม่ต้องการเปิดเผยได้ถูกละเมิดทำให้เกิดอันตรายในการนำเอกสารไปใช้ในทางที่ผิด
การบริหารการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีสมัยใหม่
ปัจจุบันเป็นยุคเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่เทคโนโลยีมีความเจริญก้าวหน้าอยู่เสมอการนำเทคโนโลยีสารสนเทศไปใช้ในการพัฒนาองค์กรสามารถทำได้หลายระดับและหลายรูปแบบ จึงจำเป็นที่จะต้องมีการพัฒนาบุคลากรให้ก้าวทันไปกับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไปและผู้บริหารจะต้องวางแผนและเตรียมปัจจัยต่างๆ ให้พร้อมสำหรับปฏิบัติงานมีการบริหารจัดการที่ดียอมรับการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีใหม่ๆที่เกิดขึ้นและพร้อมที่จะนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาประยุกต์ใช้งานเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด
**********
สภาพปัญหาที่เกิดขึ้น
1.ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตขัดข้องบ่อย
2.ใช้เวลาในการดาวน์โหลดนาน
คำถาม
1.มีแนวทางแก้ไขอย่างไรบ้างค่ะเพื่อให้ระบบเครือข่ายไม่ขัดข้อง สดุดติดขัดบ่อยๆ
ขอบคุณมากค่ะ
**********

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น