14 สิงหาคม 2552

นักศึกษาสรุปสิ่งได้จากการเรียนครั้งที่ 1

สิ่งที่ได้จากการเรียนครั้งที่ 1
ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ

ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญต่อการดำเนินงานในทุกสาขาอาชีพมากน้อยแตกต่างตามประเภทของงานทั้งภาครัฐและเอกชนเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดของการทำเทคโนโลยีมาใช้จึงจำเป็นต้องมีการบริหารจัดการที่ดี
ความหมายของข้อมูล สารสนเทศ ระบบสารสนเทศและเทคโนโลยีสารสนเทศ
ข้อมูล (Data)หมายถึงข้อเท็จจริงที่มีอยู่ในชีวิตประจำวันเกี่ยวกับบุคคล สิ่งของหรือเหตุการณ์ต่างๆ อาจเป็นตัวเลข ข้อความ รูปภาพ หรือเสียงข้อมูลจะต้องเน้นข้อเท็จจริงที่ถูกต้องครบถ้วนสมบูรณ์และเชื่อถือได้
สารสนเทศ(Information)หมายถึงข้อมูลที่ได้ผ่านการประมวลผลผ่านการวิเคราะห์หรือสรุปให้อยู่ในรูปที่มีความหมายสามารถนำไปใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์
ระบบสารสนเทศ(Information Systems)หมายถึงระบบที่ผ่านการกลั่นกรองหรือประมวลผลข้อมูลเพื่อให้ได้สารสนเทศที่ต้องการ
การจัดเตรียมระบบสารสนเทศโดยใช้คอมพิวเตอร์ดังนี้
1.ข้อมูลรับเข้า (Input) คือข้อมูลดิบซึ่งได้มาจากภายในหรือสภาพแวดล้อมภายนอกองค์กร
2.การประมวลผล(Processing) คือการจัดเก็บข้อมูลโดยการวิเคราะห์สังเคราะห์ให้ข้อมูลอยู่ในรูปแบบที่มนุษย์สามารถเข้าใจความหมายและนำไปใช้ประโยชน์ได้
3.การส่งออก(Output) คือการส่งออกสารสนเทศที่ได้จากการผ่านกระบวนการประมวลผลแล้ว
4.ผลย้อนกลับ(Feedback)คือผลที่ได้รับจากกลุ่มผู้ใช้สารสนเทศเพื่อนำมาประเมินผลหรือปรับปรุงข้อมูลรับเข้าให้ถูกต้องตามความต้องการ
เทคโนโลยีสารสนเทศ(Information Technology:IT)หรือเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร(Information and Communication : ICT)หมายถึงกระบวนการในการนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคมมาใช้ในการจัดเก็บข้อมูลรวบรวมข้อมูลประมวลผลและนำเสนอในรูปแบบที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้แบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ คอมพิวเตอร์ใช้ในการรับข้อมูลเข้าประมวลผลบันทึกข้อมูลส่งผลออกและ เครือข่ายการสื่อสาร
คุณสมบัติของสารสนเทศที่ดี
1.มีความถูกต้องเชื่อถือได้
2. สามารถตรวจสอบได้
3. มีความสมบูรณ์
4. ทันต่อการใช้งานทันเวลา
5. กะทัดรัด
6.ตรงประเด็นหรือตรงตามความต้องการ
การจัดโครงสร้างของระบบสารสนเทศ
แบ่งตามการใช้สารสนเทศออกเป็น 4 ระดับ ดังนี้
ระดับที่ 1 สารสนเทศที่ได้จากการประมวลผลรายการ
ระดับที่ 2 สารสนเทศสำหรับวางแผนการปฎิบัติงาน
ระดับที่ 3 สารสนเทศสำหรับวางแผนยุทธวิธี
ระดับที่ 4 สารสนเทศสำหรับการวางแผนกลยุทธ
แบ่งตามกิจกรรมออกเป็น 4 ระดับดังนี้
1. การประมวลผลรายการ
2. การวางแผนด้านการปฎิบัติงาน
3. การวางแผนยุทธวิธี
4. การวางแผนกลยุทธ
การไหลเวียนของสารสนเทศ
ภายในองค์กรจะมีอยู่หลายระดับที่ทำหน้าที่แตกต่างกันซึ่งจะประกอบด้วยระบบงานย่อยๆต่างกันที่สอดคล้องกับลักษณะงาน ข้อมูลต่างๆในองค์กรจะถูกรวบรวมสร้างเป็นฐานข้อมูลเพื่อให้ทั้งองค์กรสามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้และมีการไหลเวียนของสารสนเทศในทุกระดับขององค์กร เพื่อให้การดำเนินงานบรรลุเป้าหมายและเกิดประโยชน์สูงสุดแก่องค์กร
การจัดการทรัพยากรสารสนเทศ
การจัดการทรัพยากรสารสนเทศ คือ การจัดการสารสนเทศโดยใช้ฮาดร์แวร์ซอฟต์แวร์บุคลากรในด้านคอมพิวเตอร์และวิธีการในการทำงานเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่องค์กรมากที่สุดเท่าที่จะทำได้
**********
เทคโนโลยีสารสนเทศต่อการพัฒนาการศึกษา

เทคโนโลยีสารสนเทศเจริญก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว การดำเนินชีวิตในปัจจุบันเกี่ยวข้องกับสารสนเทศต่าง ๆ มากมายโดยเฉพาะทางด้านการศึกษา การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้เพื่อการศึกษาเป็นการลดความเหลื่อมล้ำของโอกาสทางการศึกษาสร้างความเท่าเทียมกับทางด้านการศึกษาเป็นเครื่องมือที่ผู้เรียนจะใช้เป็นโอกาสในการเข้าถึงการเรียนรู้และแหล่งเรียนรู้ที่มีคุณภาพอย่างกว้างขวางทั่วถึงและเท่าเทียมกัน

บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศต่อการพัฒนาการศึกษา
เทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาการศึกษาอย่างมากโดยเฉพาะเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์และการสื่อสารมีการนำมาใช้ในการจัดการศึกษาโดยช่วยพัฒนาการเรียนการสอนให้มีความทันสมัยมากขึ้น
ห้องสมุดเสมือน
ห้องสมุดเสมือนหรือห้องสมุดดิจิตอล หมายถึงแหล่งวิทยบริการ ที่เป็นแหล่งรวมของแฟ้มอิเล็กทรอนิกส์ หรือ ดิจิตอล ประเภทต่าง ๆ เช่นแฟ้มข้อความแฟ้มภาพแฟ้มกราฟฟิกแฟ้มภาพเคลื่อนไหวแฟ้มเสียงและอื่น ๆ อยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยมีการจัดการอย่างมีระบบผู้ใช้ที่ได้รับสิทธิเท่านั้นจึงจะใช้งานได้ผู้ใช้สามารถศึกษาเล่าเรียนและค้นหนังสือในห้องสมุดเพื่อสืบค้นและใช้สารสนเทศของห้องสมุดหรือเชื่อมโยงกับแหล่งสารสนเทศอื่นๆ ได้ทุกทีในระบบเครือข่าย
บทบาทของระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตกับการสนับสนุนการศึกษา
ในปัจจุบันทำให้ผู้ใช้สามารถใช้ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้อย่างสะดวก รวดเร็วทำให้การสืบค้นข้อมูลและแลกเปลี่ยนสาระความรู้ต่างๆ กันได้อย่างกว้างขวางและทั่วถึงกันมากขึ้น จึงมีการนำมาใช้ประโยชน์ทางด้านการศึกษาในรูปแบบต่างๆ เช่น
การศึกษาทางไกล เกิดขึ้นครั้งแรกที่ประเทศอังกฤษ โดยเปิดโอกาสให้บุคคลเข้าเรียนในมหาวิทยาลัย โดยไม่ต้อมมีการสอบคัดเลือกทำการสอนทางไปรษณีย์และต่อมาได้เปลี่ยนมาใช้สอนวิทยุกระจายเสียงเพิ่มขึ้น
การเรียนการสอนผ่านระบบวีดีโอ คอนเฟอร์เรนส์คือระบบรับส่งสัญญาณเสียงและข้อมูลจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่งหรือหลายจุดพร้อมๆ กัน
ระบบการเรียน แบบออนไลน์แฟ้มการศึกษาเรียนรู้ผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ด้วยตัวเอง
ระบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอนใช้คอมพิวเตอร์นำเสนอเนื้อหา
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เป็นหนังสือที่ถูกนำมาจัดพิมพ์ในรูปแบบดิจิตอล
นโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศ
นโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศระยะ พ.ศ.2544-2553 ได้กำหนดเป้าหมายและยุทธศาสตร์การพัฒนาในด้านการศึกษาคือมีเป้าหมายสร้างความพร้อมของมนุษย์ทั้งหมดของประเทศ เพื่อช่วยกันพัฒนาให้เกิดสังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ
แผ่นแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของกระทรวงศึกษาธิการปี พ.ศ.2550-2554
วิสัยทัศน์ ผู้เรียนผู้สอนบุคลากรทางการศึกษาและประชาชนใช้ประโยชน์จาก ICTในการเข้าถึงบริการทางการศึกษาได้เต็มศักยภาพอย่างมีจริยธรรมมีสมรรถนะทางICTตามมาตรฐานสากล
พันธกิจ
1.การใช้ ICT พัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพการเรียนรู้
2.การใช้ ICTเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทางการศึกษา
3.การผลิตและพัฒนาคุณภาพผู้จบการศึกษาด้าน ICT เพื่อการพัฒนาประเทศ
ยุทธศาสตร์ยุทธศาสตร์ที่1การสร้างโอกาส เพิ่มขีดความสามารถและยกระดับมาตรฐานการเรียนรู้ด้วยสื่อ อิเล็กทรอนิกส์ (e - Learning)
ยุทธศาสตร์ที่ 2 การเป็นผู้นำในการใช้ ICTเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการและการให้บริการ
(e- Management)
ยุทธศาสตร์ที่ 3 การผลิตและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรบุคคลด้าน ICT (e- Manpower)
บทบาทของผู้บริหารการศึกษาต่อการพัฒนาการศึกษา
เป็นผู้กำหนดทิศทางและนโยบายการศึกษาการพัฒนาการศึกษาซึ่งจะต้องให้ความสำคัญในการพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาให้มีความรู้และมีความเชี่ยวชาญในด้านเทคโนโลยีเพื่อให้ทันต่อเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา ผู้บริหารต้องเข้าใจและเห็นความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศเนื่องจากเทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว
1. พัฒนาบุคลากรทางการศึกษาให้มีความรู้ทางด้านเทคโนโลยี
2. ช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา
3. ส่งเสริมการนำระบบอิเล็กทรอนิกส์มาประยุกต์ใช้ในการจัดการศึกษา
**********

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น