11 กันยายน 2552

อ่านแล้ว...คิดตาม


"เหมาะสำหรับผู้ชม...ทุกวัย"

ทุกวันนี้...เรามีตึกสูงขึ้น มีถนนที่กว้างขึ้นแต่ความอดกลั้นน้อยลง
ทุกวันนี้...เรามีตึกสูงขึ้น มีถนนกว้างขึ้นแต่ความอดกลั้นน้อยลง
ทุกวันนี้...เรามีบ้านใหญ่ขึ้น แต่ครอบครัวของเรากลับเล็กลง
ทุกวันนี้...เรามียาใหม่ ๆ มากขึ้น แต่สุขภาพกลับแย่ลง
ทุกวันนี้...เรามีความรักน้อยลง แต่มีความเกลียดมากขึ้น
ทุกวันนี้...เราไปถึงโลกพระจันทร์มาแล้ว แต่เรากลับพบว่าแค่การข้ามถนนไปทักทายเพื่อนบ้านกลับยากเย็น…
ทุกวันนี้...เราพิชิตห้วงอวกาศมาแล้ว แต่แค่ห้วงในหัวใจกลับไม่อาจสัมผัสถึง...
ทุกวันนี้...เรามีรายได้สูงขึ้น แต่ศีลธรรมกลับตกต่ำลง
ทุกวันนี้...เรามีอาหารดี ๆ มากขึ้นแต่สุขภาพแย่ลง
ทุกวันนี้...ทุกบ้านมีคนหารายได้ได้ถึง 2 คน แต่การหย่าร้างกลับเพิ่มมากขึ้น.....

14 สิงหาคม 2552

นักศึกษาสรุปสิ่งที่ได้จากการเรียนครั้งที่ 1-2

สิ่งที่ได้จากการเรียนครั้งที่ 2
การบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ

เพื่อตอบสนองความต้องการภาครัฐและเอกชน

ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามามีบทบาทสำคัญอย่างมากต่อการพัฒนาองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นสร้างผลกระทบที่สำคัญต่อการดำรงอยู่และการเจริญเติบโตขององค์กร การเรียนรู้และการพัฒนาสารสนเทศจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ทุกองค์กรจะต้องให้ความสำคัญกับการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้มีดังนี้
1. ด้านการวางแผน
2. ด้านการตัดสินใจ
3. ด้านการดำเนินงาน
การบริการงานด้านสารสนเทศ ในทางปฎิบัติผู้บริหารไม่จำเป็นต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านสารสนเทศแต่ผู้บริหารต้องเข้าใจถึงความสำคัญและประโยชน์ในการนำสารสนเทศมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินงานขององค์กร
CEO (Chief Executive Officer) ผู้บริหารสูงสุดขององค์กรที่จะต้องมีภาวะผู้นำ
CIO (Chief information Officer) ผู้บริหารฝ่ายสารสนเทศซึ่งเป็นตำแหน่งสูงสุดที่รับผิดชอบด้านสารสนเทศขององค์กรโดยเฉพาะ
COO (Chief Operating Officer) ผู้บริหารด้านการปฎิบัติการมีหน้าที่ บริหารจัดการกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในแต่ละวันขององค์กร
CKO (Chief Knowledge Officer) ผู้บริหารที่รับผิดชอบด้านการบริหารและจัดการความรู้ในองค์กร
ระดับการบริหารงานในองค์กร
1. ผู้บริหารระดับสูง ได้แก่ ประธานกรรมการ ผู้จัดการ กรรมการบริหาร
2. ผู้บริหารระดับกลาง ได้แก่ ผู้จัดการฝ่ายต่างๆ ที่มีหน้าที่ รับนโยบายและแผนระยะยาว
3. ผู้บริหารระดับต้นหรือระดับปฎิบัติการ ได้แก่ หัวหน้างาน หัวหน้าฝ่าย หัวหน้าแผนก
ระดับของการตัดสินใจ
การตัดสินใจแบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ
1. การตัดสินใจระดับสูง ไม่มีการวางแผนล่วงหน้า
2. การตัดสินใจระดับกลาง เป็นการตัดสินใจของผู้บริหารระดับกลาง
3. การตัดสินใจระดับปฎิบัติการ
ระบบสารสนเทศสำหรับองค์กร
1. ระบบประมวลผลรายการ เป็นการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการประมวลผลข้อมูลรายการต่างๆ
2. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร
3.ระบบสารสนเทศสำนักงาน
4.ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
5.ระบบสนับสนุนผู้บริหารระดับสูง
การบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศเทคโนโลยีสารสนเทศ
เทคโนโลยีสารสนเทศได้กลายเป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับองค์กรทั้งภาครัฐและภาคเอกชนมีความสำคัญต่อการพัฒนาองค์กรและเป็นตัวเร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพื้นฐานทั้งในโครงสร้างการปฏิบัติงาน และการจัดการขององค์กรต่าง ๆดังนั้นผู้บริหารทั้งภาครัฐและภาคเอกชนควรให้ความสนใจ และติดตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยีาสรสนเทศเพื่อจะได้ทราบทิศทาง และประโยชน์ในการประยุกต์ใช้งานให้เหมาะสมและจะต้องมีความรู้ความเข้าใจการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด

**********
เทคโนโลยีสารสนเทศกับการเปลี่ยนแปลง
ทางด้านสังคม การเมืองและเทคโนโลยีสมัยใหม่
การเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
ผลของความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศทำให้เกิดแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงหลายด้านดังนี้
1.ทำให้สังคมเปลี่ยนจากสังคมอุตสาหกรรมมาเป็นสังคมาสารสนเทศ
2.การสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น การติดต่อสื่อสารสะดวกขึ้น
3.อุปกรณ์ต่างๆมีราคาถูกลงแต่มีความสามารถและประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น
4.เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามามีบทบาททางด้านธุรกิจ
เทคโนโลยีสารสนเทศกับการเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคม
เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงสังคมเกษตรกรรมไปสู่สังคมอุตสาหกรรมสังคมสารสนเทศและสังคมความรู้ เทคโนโลยีมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงในการดำเนินกิจกรรมของมนุษย์ในหลายๆด้านจึงมีผลกระทบต่อสังคมทั้งในแง่บวกและแง่ลบ
เทคโนโลยีสารสนเทศกับการเปลี่ยนแปลงทางด้านการเมือง
มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการพัฒนาทางด้านการเมือง แนวโน้มที่ดีขึ้นในมิติทางการเมืงอไทยในปัจจุบันก็คือการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนมีมากขึ้น เนื่องจากการเปิดรับข่าวสารสื่อต่างๆ ทั้งในและนอกประเทศ เช่น ข้อมูลข่าวสารผ่านเว็บไซต์และโทรศัพท์มือถือ
เทคโนโลยีสมัยใหม่
เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เจริญก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว มีการนำคอมพิวเตอร็มาใช้ในการสร้างสารสนเทศมากมาย สารสนเทศที่ดีได้มาจากการจัดการกับข้อมูลที่ดีทำให้ได้สารสนเทศที่ต้องการและเมื่อสะสมสารสนเทศมากขึ้นเรื่อยๆ จะได้ความรู้ใหม่ และความรู้เหล่านี้จะนำไปสู่การพัฒนาสติปัญญาของมนุษย์
การจัดการความรู้
การจัดการ หมายถึง กระบวนการทำงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ต้องการอย่างประสิทธิภาพ และประสิทธิผล
การจัดการความรู้ คือ การรวบรวมความรู้ที่มีอย่กระจัดกระจายมาพัฒนาเป็นระบให้ทุกคนสามารถเข้าถึงและพัฒนาตนเอง พัฒนางานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
กลยุทธ์ คือ การหาแนวทางให้องค์กรสามารถเอาชนะคู่แข่งขันได้อย่างมี ประสิทธิภาพภายใต้เงื่อนไขของทรัพยากรที่มีอยู่
กระบวนการจัดการเชิงกลยุทธ์
การจัดการเชิงกลยุทธ์จะต้องมีกระบวนการที่ชัดเจนซึ่งแบ่งเป็น 3 ขั้นตอน
ขั้นตอนที่ 1.การวิเคราะห์กลยุทธ์แบ่งเป็นองค์ประกอบหลัก 2 ส่วน คือ
1.1 การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน
1.2 การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก
ขั้นตอนที่ 2. การจัดทำกลยุทธ์ นำข้อมูลที่ได้จากขั้นตอนที่ 1 มาจัดทำกลยุทธ์ซึ่งต้องกำหนดวิสัยทัศน์พันธกิจและเป้าหมาย
ขั้นตอนที่ 3.การนำกลยุทธ์ไปปฎิบัติ เน้นการประเมินโดยมุ่งเน้นในสิ่งที่มีความสำคัญต่อความสำเร็จขององค์กร
เทคโนโลยีสารสนเทศสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน
1. เพิ่มปริมาณการขาย 2. การลดต้นทุนการผลิต 3.การเพิ่มผลผลิต 4.การเพิ่มคุณภาพของสินค้าและบริการ5.เพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน
ข้อโต้แย้งเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศในการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน
เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้เกิดข้อขัดแย้งในประเด็นที่เกี่ยวกับค่าใช้จ่าย การเปลี่ยนแปลงและความเสี่ยง
1.การสร้างเทคโนโลยีสารสนเทศเสียค่าใช้จ่ายสูงและต้องใช้เวลา
2.การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศจะต้องเกิดการเปลี่ยนแปลง
3.การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศมีความเสี่ยง
ผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อองค์กร
เหตุผลสำคัญที่ทำให้เกิดความล้มเหลวขององค์กร คือ ความผิดพลาดทางด้านการบริหาร ดั้นนั้นการสร้างความสำเร้จให้เกิดกับองค์กรจะต้องมีกลยุทธ์ที่ชัดเจน มุ่งเน้นการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติตลอดจนมีการดำเนินงานที่ดี ปัจจุบันเทคโนโลยีาสารสนเทศสามารถสร้างประโยชน์ได้มากในทางกลับกันก็เป็นปัญหาสังคมเร่งด่วนเนื่องจากสารสนเทศส่วนตัวบางอย่างที่ไม่ต้องการเปิดเผยได้ถูกละเมิดทำให้เกิดอันตรายในการนำเอกสารไปใช้ในทางที่ผิด
การบริหารการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีสมัยใหม่
ปัจจุบันเป็นยุคเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่เทคโนโลยีมีความเจริญก้าวหน้าอยู่เสมอการนำเทคโนโลยีสารสนเทศไปใช้ในการพัฒนาองค์กรสามารถทำได้หลายระดับและหลายรูปแบบ จึงจำเป็นที่จะต้องมีการพัฒนาบุคลากรให้ก้าวทันไปกับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไปและผู้บริหารจะต้องวางแผนและเตรียมปัจจัยต่างๆ ให้พร้อมสำหรับปฏิบัติงานมีการบริหารจัดการที่ดียอมรับการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีใหม่ๆที่เกิดขึ้นและพร้อมที่จะนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาประยุกต์ใช้งานเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด
**********
สภาพปัญหาที่เกิดขึ้น
1.ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตขัดข้องบ่อย
2.ใช้เวลาในการดาวน์โหลดนาน
คำถาม
1.มีแนวทางแก้ไขอย่างไรบ้างค่ะเพื่อให้ระบบเครือข่ายไม่ขัดข้อง สดุดติดขัดบ่อยๆ
ขอบคุณมากค่ะ
**********

นักศึกษาสรุปสิ่งได้จากการเรียนครั้งที่ 1

สิ่งที่ได้จากการเรียนครั้งที่ 1
ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ

ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญต่อการดำเนินงานในทุกสาขาอาชีพมากน้อยแตกต่างตามประเภทของงานทั้งภาครัฐและเอกชนเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดของการทำเทคโนโลยีมาใช้จึงจำเป็นต้องมีการบริหารจัดการที่ดี
ความหมายของข้อมูล สารสนเทศ ระบบสารสนเทศและเทคโนโลยีสารสนเทศ
ข้อมูล (Data)หมายถึงข้อเท็จจริงที่มีอยู่ในชีวิตประจำวันเกี่ยวกับบุคคล สิ่งของหรือเหตุการณ์ต่างๆ อาจเป็นตัวเลข ข้อความ รูปภาพ หรือเสียงข้อมูลจะต้องเน้นข้อเท็จจริงที่ถูกต้องครบถ้วนสมบูรณ์และเชื่อถือได้
สารสนเทศ(Information)หมายถึงข้อมูลที่ได้ผ่านการประมวลผลผ่านการวิเคราะห์หรือสรุปให้อยู่ในรูปที่มีความหมายสามารถนำไปใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์
ระบบสารสนเทศ(Information Systems)หมายถึงระบบที่ผ่านการกลั่นกรองหรือประมวลผลข้อมูลเพื่อให้ได้สารสนเทศที่ต้องการ
การจัดเตรียมระบบสารสนเทศโดยใช้คอมพิวเตอร์ดังนี้
1.ข้อมูลรับเข้า (Input) คือข้อมูลดิบซึ่งได้มาจากภายในหรือสภาพแวดล้อมภายนอกองค์กร
2.การประมวลผล(Processing) คือการจัดเก็บข้อมูลโดยการวิเคราะห์สังเคราะห์ให้ข้อมูลอยู่ในรูปแบบที่มนุษย์สามารถเข้าใจความหมายและนำไปใช้ประโยชน์ได้
3.การส่งออก(Output) คือการส่งออกสารสนเทศที่ได้จากการผ่านกระบวนการประมวลผลแล้ว
4.ผลย้อนกลับ(Feedback)คือผลที่ได้รับจากกลุ่มผู้ใช้สารสนเทศเพื่อนำมาประเมินผลหรือปรับปรุงข้อมูลรับเข้าให้ถูกต้องตามความต้องการ
เทคโนโลยีสารสนเทศ(Information Technology:IT)หรือเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร(Information and Communication : ICT)หมายถึงกระบวนการในการนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคมมาใช้ในการจัดเก็บข้อมูลรวบรวมข้อมูลประมวลผลและนำเสนอในรูปแบบที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้แบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ คอมพิวเตอร์ใช้ในการรับข้อมูลเข้าประมวลผลบันทึกข้อมูลส่งผลออกและ เครือข่ายการสื่อสาร
คุณสมบัติของสารสนเทศที่ดี
1.มีความถูกต้องเชื่อถือได้
2. สามารถตรวจสอบได้
3. มีความสมบูรณ์
4. ทันต่อการใช้งานทันเวลา
5. กะทัดรัด
6.ตรงประเด็นหรือตรงตามความต้องการ
การจัดโครงสร้างของระบบสารสนเทศ
แบ่งตามการใช้สารสนเทศออกเป็น 4 ระดับ ดังนี้
ระดับที่ 1 สารสนเทศที่ได้จากการประมวลผลรายการ
ระดับที่ 2 สารสนเทศสำหรับวางแผนการปฎิบัติงาน
ระดับที่ 3 สารสนเทศสำหรับวางแผนยุทธวิธี
ระดับที่ 4 สารสนเทศสำหรับการวางแผนกลยุทธ
แบ่งตามกิจกรรมออกเป็น 4 ระดับดังนี้
1. การประมวลผลรายการ
2. การวางแผนด้านการปฎิบัติงาน
3. การวางแผนยุทธวิธี
4. การวางแผนกลยุทธ
การไหลเวียนของสารสนเทศ
ภายในองค์กรจะมีอยู่หลายระดับที่ทำหน้าที่แตกต่างกันซึ่งจะประกอบด้วยระบบงานย่อยๆต่างกันที่สอดคล้องกับลักษณะงาน ข้อมูลต่างๆในองค์กรจะถูกรวบรวมสร้างเป็นฐานข้อมูลเพื่อให้ทั้งองค์กรสามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้และมีการไหลเวียนของสารสนเทศในทุกระดับขององค์กร เพื่อให้การดำเนินงานบรรลุเป้าหมายและเกิดประโยชน์สูงสุดแก่องค์กร
การจัดการทรัพยากรสารสนเทศ
การจัดการทรัพยากรสารสนเทศ คือ การจัดการสารสนเทศโดยใช้ฮาดร์แวร์ซอฟต์แวร์บุคลากรในด้านคอมพิวเตอร์และวิธีการในการทำงานเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่องค์กรมากที่สุดเท่าที่จะทำได้
**********
เทคโนโลยีสารสนเทศต่อการพัฒนาการศึกษา

เทคโนโลยีสารสนเทศเจริญก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว การดำเนินชีวิตในปัจจุบันเกี่ยวข้องกับสารสนเทศต่าง ๆ มากมายโดยเฉพาะทางด้านการศึกษา การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้เพื่อการศึกษาเป็นการลดความเหลื่อมล้ำของโอกาสทางการศึกษาสร้างความเท่าเทียมกับทางด้านการศึกษาเป็นเครื่องมือที่ผู้เรียนจะใช้เป็นโอกาสในการเข้าถึงการเรียนรู้และแหล่งเรียนรู้ที่มีคุณภาพอย่างกว้างขวางทั่วถึงและเท่าเทียมกัน

บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศต่อการพัฒนาการศึกษา
เทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาการศึกษาอย่างมากโดยเฉพาะเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์และการสื่อสารมีการนำมาใช้ในการจัดการศึกษาโดยช่วยพัฒนาการเรียนการสอนให้มีความทันสมัยมากขึ้น
ห้องสมุดเสมือน
ห้องสมุดเสมือนหรือห้องสมุดดิจิตอล หมายถึงแหล่งวิทยบริการ ที่เป็นแหล่งรวมของแฟ้มอิเล็กทรอนิกส์ หรือ ดิจิตอล ประเภทต่าง ๆ เช่นแฟ้มข้อความแฟ้มภาพแฟ้มกราฟฟิกแฟ้มภาพเคลื่อนไหวแฟ้มเสียงและอื่น ๆ อยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยมีการจัดการอย่างมีระบบผู้ใช้ที่ได้รับสิทธิเท่านั้นจึงจะใช้งานได้ผู้ใช้สามารถศึกษาเล่าเรียนและค้นหนังสือในห้องสมุดเพื่อสืบค้นและใช้สารสนเทศของห้องสมุดหรือเชื่อมโยงกับแหล่งสารสนเทศอื่นๆ ได้ทุกทีในระบบเครือข่าย
บทบาทของระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตกับการสนับสนุนการศึกษา
ในปัจจุบันทำให้ผู้ใช้สามารถใช้ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้อย่างสะดวก รวดเร็วทำให้การสืบค้นข้อมูลและแลกเปลี่ยนสาระความรู้ต่างๆ กันได้อย่างกว้างขวางและทั่วถึงกันมากขึ้น จึงมีการนำมาใช้ประโยชน์ทางด้านการศึกษาในรูปแบบต่างๆ เช่น
การศึกษาทางไกล เกิดขึ้นครั้งแรกที่ประเทศอังกฤษ โดยเปิดโอกาสให้บุคคลเข้าเรียนในมหาวิทยาลัย โดยไม่ต้อมมีการสอบคัดเลือกทำการสอนทางไปรษณีย์และต่อมาได้เปลี่ยนมาใช้สอนวิทยุกระจายเสียงเพิ่มขึ้น
การเรียนการสอนผ่านระบบวีดีโอ คอนเฟอร์เรนส์คือระบบรับส่งสัญญาณเสียงและข้อมูลจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่งหรือหลายจุดพร้อมๆ กัน
ระบบการเรียน แบบออนไลน์แฟ้มการศึกษาเรียนรู้ผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ด้วยตัวเอง
ระบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอนใช้คอมพิวเตอร์นำเสนอเนื้อหา
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เป็นหนังสือที่ถูกนำมาจัดพิมพ์ในรูปแบบดิจิตอล
นโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศ
นโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศระยะ พ.ศ.2544-2553 ได้กำหนดเป้าหมายและยุทธศาสตร์การพัฒนาในด้านการศึกษาคือมีเป้าหมายสร้างความพร้อมของมนุษย์ทั้งหมดของประเทศ เพื่อช่วยกันพัฒนาให้เกิดสังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ
แผ่นแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของกระทรวงศึกษาธิการปี พ.ศ.2550-2554
วิสัยทัศน์ ผู้เรียนผู้สอนบุคลากรทางการศึกษาและประชาชนใช้ประโยชน์จาก ICTในการเข้าถึงบริการทางการศึกษาได้เต็มศักยภาพอย่างมีจริยธรรมมีสมรรถนะทางICTตามมาตรฐานสากล
พันธกิจ
1.การใช้ ICT พัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพการเรียนรู้
2.การใช้ ICTเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทางการศึกษา
3.การผลิตและพัฒนาคุณภาพผู้จบการศึกษาด้าน ICT เพื่อการพัฒนาประเทศ
ยุทธศาสตร์ยุทธศาสตร์ที่1การสร้างโอกาส เพิ่มขีดความสามารถและยกระดับมาตรฐานการเรียนรู้ด้วยสื่อ อิเล็กทรอนิกส์ (e - Learning)
ยุทธศาสตร์ที่ 2 การเป็นผู้นำในการใช้ ICTเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการและการให้บริการ
(e- Management)
ยุทธศาสตร์ที่ 3 การผลิตและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรบุคคลด้าน ICT (e- Manpower)
บทบาทของผู้บริหารการศึกษาต่อการพัฒนาการศึกษา
เป็นผู้กำหนดทิศทางและนโยบายการศึกษาการพัฒนาการศึกษาซึ่งจะต้องให้ความสำคัญในการพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาให้มีความรู้และมีความเชี่ยวชาญในด้านเทคโนโลยีเพื่อให้ทันต่อเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา ผู้บริหารต้องเข้าใจและเห็นความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศเนื่องจากเทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว
1. พัฒนาบุคลากรทางการศึกษาให้มีความรู้ทางด้านเทคโนโลยี
2. ช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา
3. ส่งเสริมการนำระบบอิเล็กทรอนิกส์มาประยุกต์ใช้ในการจัดการศึกษา
**********

13 สิงหาคม 2552

บทคัดย่องานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมทางการศึกษา

ชื่อเรื่องวิทยานิพนธ์ การจัดการเรียนการสอนวิชาสังคมศึกษา 1
ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายสายสามัญ โดยวิธีเรียนแบบทางไกล
ของศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอ
จังหวัดเพชรบูรณ์
ชื่อผู้เขียน นางสาวดวงใจ กระแสเวส
ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา
คณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์
ผู้ช่วยศาสตราจารย์วีระวัฒน์ พูลทวี ประธานกรรมการ
รองศาสตราจารย์พนิดา สินสุวรรณ กรรมการ
รองศาสตราจารย์อุเทน ปัญโญ กรรมการ
สืบค้นข้อมูลต้นสังกัด:http://library.cmu.ac.th/cmul_2009/index.php

บทคัดย่อ
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการเรียนการสอนวิชาสังคมศึกษา 1 ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายสายสามัญ โดยวิธีเรียนแบบทางไกล ของศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนอำเภอ จังหวัดเพชรบูรณ์ประชากรคือครูประจำกลุ่มผู้สอนวิชาสังคมศึกษา 1 ในศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอ จังหวัดเพชรบูรณ์ จำนวน 11 คน และกลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาทางไกลที่เรียนวิชาสังคมศึกษา 1 ในศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอ จังหวัดเพชรบูรณ์ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2542 จำนวน 33 คน โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่ายเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้คือความถี่ร้อยละ
จากการศึกษาครั้งนี้พบว่า
1.ด้านนักศึกษาทางไกล พบว่านักศึกษาส่วนใหญ่มีความตั้งใจที่จะเรียนให้จบหลักสูตรแต่ไม่ให้ความสำคัญกับความรู้ที่ได้รับ ประกอบกับนักศึกษามีภาระงานประจำมาก จึงไม่มีเวลามาเรียนส่งผลให้นักศึกษามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ
2.ด้านครูประจำกลุ่ม พบว่าครูประจำกลุ่มมีภาระหน้าที่นอกเหนือจากงานสอนมาก และต้องสอนหลายวิชา รวมทั้งครูประจำกลุ่มส่วนใหญ่ไม่ได้จบการสอนสังคมศึกษาโดยตรงส่งผลให้ครูขาดความชำนาญในการสอนไม่มีเวลาคิดหากิจกรรมการเรียนการสอนที่เหมาะสม จึงใช้เพียงการบรรยายและการทำงานกลุ่ม
3.ด้านการพบกลุ่ม พบว่ามีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเพียงสัปดาห์ละ 1 ชั่วโมงซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการสอนของครู การรายงานกลุ่ม และการรับงานใหม่ให้ไปศึกษาเองที่บ้าน
4.ด้านการใช้สื่อ พบว่าส่วนใหญ่แล้วค่อนข้างขาดแคลนสื่อการเรียนการสอน ในขณะเดียวกันทางกรมการศึกษานอกโรงเรียนได้จัดทำสื่อวีดีทัศน์ และโทรทัศน์เพื่อการศึกษาไทยคมมาให้ตามศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียน แต่ยังอยู่ในช่วงทดลองใช้และตามศูนย์เองก็ยังขาดแคลนอุปกรณ์ในการใช้สื่อเหล่านี้
5.ด้านการสอนเสริม พบว่าส่วนใหญ่ไม่ได้รับความสนใจและความร่วมมือจากครูประจำกลุ่มและนักศึกษาเนื่องจากไม่มีคะแนนและไม่มีเวลาในการเรียนแต่จะมีการสอนเสริมเป็นรายกรณี
6.ด้านการทำกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต พบว่านักศึกษาให้ความสำคัญและให้ความร่วมมือกิจกรรมนี้เป็นอย่างดี และสมควรสันบสนุนให้มีการพัฒนากิจกรรมนี้ต่อไป

เอกสารอ้างอิง
ดวงใจ กระแสเวส.(2543).งานวิจัยเรื่องการจัดการเรียนการสอนวิชาสังคมศึกษา 1 ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายสายสามัญ โดยวิธีเรียนแบบทางไกล
ของศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอ จังหวัดเพชรบูรณ์.เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.



09 สิงหาคม 2552

ความประทับใจ


น้องขิมมี่อายุ 2 ขวบ 8 เดือน กับการเรียนรู้ที่
"บึงฉวาก จังหวัดสุพรรณบุรี"
"น้องขิมมี่กับพี่กระต่ายน้อยสุดโปรด"

เรื่องที่ข้าพเจ้าประทับใจ

คือข้าพเจ้ามีครอบครัวที่อบอุ่น มีลูกสาวที่น่ารัก

ไม่ดื้อรั้น เป็นเด็กร่าเริง มีร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง
ในนามเรียกขานว่า "น้องขิมมี่"

ปัจจุบันน้องขิมมี่เรียนเตรียมอนุบาลที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ห้องปลาโลมา


ประวัติส่วนตัวของฉัน

ชื่อ : กัญติมาภรณ์ อัปมะให
วันเกิด : 28 ธันวาคม 2520
อาชีพ : รับราชการ
ตำแหน่ง :ผอ.กองการศึกษา

ที่ทำงาน :เทศบาลตำบลเหมือง
อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี

Web:http://www.mheung.go.th/
โทรศัพท์ :0-3838-9224-5
: 0-8358-6997-1
E-mail:nupim.2520@hotmail.com
nupim.2520@yahoo.co.th

การศึกษา:ปริญญาตรี ครุศาสตรบัณฑิต
สาขาคณิตศาสตร์ฯ ปริญญาโท ศึกษาศาสตรหมาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา
ที่อยู่ : 16/90 เดอะวิลเลจบางแสน ต.ห้วยกะปิ อ.เมือง
จ.ชลบุรี 20130